วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พลังงาน - ความดันน้ำ 4



ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=jdRkEiAYR44&feature=relmfu

108 วันมหัศจรรย์พอเพียง ตอนที่ 85



ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=d15PK3d65AE&feature=related

เตาชีวมวล



ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=jwNV1v2R1zo&feature=related

ปาล์มน้ำมัน...ต้นแบบพลังงานชีวภาพ



ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=hzfBhLZV0DM&feature=relmfu

108 วิธีประหยัดพลังงาน อีกหนทางช่วยชาติ ของคนไทย

วิธีประหยัดน้ำมัน



1. ตรวจตราลมยางเป็นประจำ เพราะยางที่อ่อนเกินไปนั้น ทำให้
สิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่ายางที่มีปริมาณลมยางตามที่มาตรฐาน
กำหนด

2. สับเปลี่ยนยาง ตรวจตั้งศูนย์ล้อตามกำหนด จะช่วยประหยัด
น้ำมันเพิ่มขึ้นอีกมาก

3. ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อต้องจอดรถนานๆ แค่จอดรถติดเครื่อง
ทิ้งไว้ 10 นาที ก็เสียน้ำมันฟรีๆ 200 ซีซี

4. ไม่ควรติดเครื่องทิ้งไว้เมื่อจอดรถ ให้ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่
ขึ้นของ ลงของ หรือคอยคน เพราะการติดเครื่องทิ้งไว้ เปลืองน้ำมัน
และสร้างมลพิษอีกด้วย

5. ไม่ออกรถกระชากดังเอี๊ยด การออกรถกระชาก 10 ครั้ง สูญเสีย
น้ำมันไปเปล่าๆ ถึง 100 ซีซี น้ำมันจำนวนนี้รถสามารถวิ่งได้ไกล
700 เมตร

6. ไม่เร่งเครื่องยนต์ตอนเกียร์ว่างอย่างที่เราเรียกกันติดปากว่า
เบิ้ลเครื่องยนต์ การกระทำดังกล่าว 10 ครั้ง สูญเสียน้ำมันถึง 50 ซีซี
ปริมาณน้ำมันขนาดนี้รถวิ่งไปได้ตั้ง 350 เมตร

7. ตรวจตั้งเครื่องยนต์ตามกำหนด ควรตรวจเช็คเครื่องยนต์
สม่ำเสมอ เช่น ทำความสะอาดระบบไฟจุดระเบิด เปลี่ยนหัว
คอนเดนเซอร์ ตั้งไฟแก่อ่อนให้พอดี จะช่วยประหยัดน้ำมันได้ถึง 10%

8. ไม่ต้องอุ่นเครื่อง หากออกรถและขับช้าๆ สัก 1-2 กม. แรก
เครื่องยนต์จะอุ่นเอง ไม่ต้องเปลืองน้ำมันไปกับการอุ่นเครื่อง

9. ไม่ควรบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด เพราะเครื่องยนต์จะทำงาน
ตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หากบรรทุกหนักมาก จะทำให้เปลืองน้ำมัน
และสึกหรอสูง

10. ใช้ระบบการใช้รถร่วมกัน หรือคาร์พูล (Car pool) ไปไหน
มาไหน ที่หมายเดียวกัน ทางผ่านหรือใกล้เคียงกัน ควรใช้รถคัน
เดียวกัน

11. เดินทางเท่าที่จำเป็นจริงๆ เพื่อประหยัดน้ำมัน บางครั้ง
เรื่องบางเรื่องอาจจะติดต่อกันทางโทรศัพท์ก็ได้ ประหยัดน้ำมัน
ประหยัดเวลา

12. ไปซื้อของหรือไปธุระใกล้บ้านหรือใกล้ๆ ที่ทำงาน อาจจะเดิน
หรือใช้จักรยานบ้าง ไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ทุกครั้ง เป็นการ
ออกกำลังกายและประหยัดน้ำมันด้วย

13. ก่อนไปพบใคร ควรโทรศัพท์ไปถามก่อนว่าเขาอยู่หรือไม่ จะได้
ไม่เสียเที่ยว ไม่เสียเวลา ไม่เสียน้ำมันไปโดยเปล่าประโยชน์

14. สอบถามเส้นทางที่จะไปให้แน่ชัด หรือศึกษาแผนที่ให้ดี
จะได้ไม่หลง ไม่เสียเวลา ไม่เปลืองน้ำมันในการวนหา

15. ควรใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์ อินเตอร์เน็ท หรือใช้
บริการส่งเอกสาร แทนการเดินทางด้วยตัวเอง เพื่อประหยัดน้ำมัน

16. ไม่ควรเดินทางโดยไม่ได้วางแผนการเดินทาง ควรกำหนด
เส้นทาง และช่วงเวลาการเดินทางที่เหมาะสมเพื่อประหยัดน้ำมัน

17. หมั่นศึกษาเส้นทางลัดเข้าไว้ ช่วยให้ไม่ต้องเดินทางยาวนาน
ไม่ต้องเผชิญปัญหาจราจร ช่วยประหยัดทั้งเวลาและประหยัดน้ำมัน

18. ควรบับรถด้วยความเร็วคงที่ เลือกขับที่ความเร็ว 70-80
กิโลเมตรต่อชั่วโมงที่ 2,000-2,500 รอบเครื่องยนต์ ความเร็วระดับ
นี้ ประหยัดน้ำมันได้มากกว่า

19. ไม่ควรขับรถลากเกียร์ เพราการลากเกียร์ต่ำนานๆ จะทำให้
เครื่องยนต์หมุนรอบสูงกินน้ำมันมาก และเครื่องยนต์ร้อนจัด
สึกหรอง่าย

20. ไม่ติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งที่จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้น
เช่น การทำให้เกิดการต้านลมขณะวิ่ง หรือทำให้เครื่องยนต์ ไม่
สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี

21. ไม่ควรใช้น้ำมันเบนซินที่ออกเทนสูงเกินความจำเป็นของ
เครื่องยนต์ เพราะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานโดยเปล่าประโยชน์

22. หมั่นเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ไส้กรองน้ำมันเครื่อง ไส้กรองอากาศ
ตามระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อประหยัดน้ำมัน

23. สำหรับเครื่องยนต์แบบเบนซิน ควรเลือกเติมน้ำมันเบนซิน
ให้ถูกชนิด ถูกประเภท โดยเลือกตามค่าออกเทนที่เหมาะสมกับ
รถแต่ละยี่ห้อ (สังเกตจากฝาปิดถังน้ำมันด้านใน หรือรับคู่มือที่ปั้ม
น้ำมันใกล้บ้าน

24. ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศตลอดเวลา ยามเช้าๆ
เปิดกระจกรับความเย็นจากลมธรรมชาติบ้างก็สดชื่นดี ประหยัด
น้ำมันได้ด้วย

25. ไม่ควรเร่งเครื่องปรับอากาศในรถอย่างเต็มที่จนเกินความจำเป็น
ไม่เปิดแอร์แรงๆ จนรู้สึกหนาวเกินไป เพราะสิ้นเปลืองพลังงาน



วิธีประหยัดไฟฟ้า



26. ปิดสวิตช์ไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน สร้าง
ให้เป็นนิสัยในการดับไฟทุกครั้งที่ออกจากห้อง

27. เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน ดูฉลากแสดงประสิทธิภาพ
ให้แน่ใจทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ หากมีอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 ต้อง
เลือกใช้เบอร์ 5

28. ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่จะไม่อยู่ในห้องเกิน 1 ชั่วโมง
สำหรับเครื่องปรับอากาศทั่วไป และ 30 นาที สำหรับเครื่องปรับ
อากาศเบอร์ 5

29. หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศ
บ่อยๆ เพื่อลดการเปลืองไฟในการทำงานของเครื่องปรับอากาศ

30. ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็น
อุณหภูมิที่กำลังสบาย อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 องศา ต้องใช้พลังงาน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10

31. ไม่ควรปล่อยให้มีความเย็นรั่วไหลจากห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับ
อากาศ ตรวจสอบและอุดรอยรั่วตามผนัง ฝ้าเพดาน ประตู
ช่องแสง และปิดประตูห้องทุกครั้งที่เปิดเครื่องปรับอากาศ

32. ลดและหลีกเลี่ยงการเก็บเอกสาร หรือวัสดุอื่นใดที่ไม่จำเป็น
ต้องใช้งานในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ เพื่อลดการสูญเสีย และ
ใช้พลังงานในการปรับอากาศภายในอาคาร

33. ติดตั้งฉนวนกันความร้อนโดยรอบห้องที่มีการปรับอากาศ
เพื่อลดการสูญเสียพลังงานจากการถ่ายเทความร้อนเข้าภายใน
อาคาร

34. ใช้มูลี่กันสาดป้องกันแสงแดดส่องกระทบตัวอาคาร และ
บุฉนวนกันความร้อนตามหลังคาและฝาผนังเพื่อไม่ให้เครื่องปรับ
อากาศทำงานหนักเกินไป

35. หลีกเลี่ยงการสูญเสียพลังงานจากการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่
ห้องปรับอากาศ ติดตั้งและใช้อุปกรณ์ควบคุมการเปิด-ปิดประตู
ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ

36. ควรปลูกต้นไม้รอบๆ อาคาร เพราะต้นไม้ขนาดใหญ่ 1 ต้น
ให้ความเย็นเท่ากับเครื่องปรับอากาศ 1 ตัน หรือให้ความเย็น
ประมาณ 12,000 บีทียู

37. ควรปลูกต้นไม้เพื่อช่วยบังแดดข้างบ้านหรือเหนือหลังคา เพื่อ
เครื่องปรับอากาศจะไม่ต้องทำงานหนักเกินไป

38. ปลูกพืชคลุมดิน เพื่อช่วยลดความร้อนและเพิ่มความชื้นให้กับ
ดิน จะทำให้บ้านเย็น ไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศเย็น
จนเกินไป

39. ในสำนักงาน ให้ปิดไฟ ปิดเครื่องปรับอากาศ และอุปกรณ์
ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น ในช่วงเวลา 12.00-13.00 น. จะสามารถประหยัด
ค่าไฟฟ้าได้

40. ไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเวลาเริ่มงาน และควร
ปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเวลาเลิกใช้งานเล็กน้อย เพื่อประหยัดไฟ

41. เลือกซื้อพัดลมที่มีเครื่องหมายมาตรฐานรับรอง เพราะพัดลม
ที่ไม่ได้คุณภาพ มักเสียง่าย ทำให้สิ้นเปลือง

42. หากอากาศไม่ร้อนเกินไป ควรเปิดพัดลมแทนเครื่องปรับ
อากาศ จะช่วยประหยัดไฟ ประหยัดเงินได้มากทีเดียว

43. ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน ใช้หลอดผอมจอมประหยัด
แทนหลอดอ้วน ใช้หลอดตะเกียบแทนหลอดไส้ หรือใช้หลอด
คอมแพคท์ฟลูออเรสเซนต์

44. ควรใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟ หรือบัลลาสต์อิเล็กโทรนิกคู่กับ
หลอดผอมจอมประหยัด จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประหยัด
ไฟได้อีกมาก

45. ควรใช้โคมไฟแบบมีแผ่นสะท้อนแสงในห้องต่างๆ เพื่อช่วยให้
แสงสว่างจากหลอดไฟ กระจายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้
ไม่จำเป็นต้องใช้หลอดไฟฟ้าวัตต์สูง ช่วยประหยัดพลังงาน

46. หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟที่บ้าน เพราะจะช่วยเพิ่มแสงสว่าง
โดยไม่ต้องใช้พลังงานมากขึ้น ควรทำอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี

47. ใช้หลอดไฟที่มีวัตต์ต่ำ สำหรับบริเวณที่จำเป็นต้องเปิดทิ้งไว้
ทั้งคืน ไม่ว่าจะเป็นในบ้านหรือข้างนอก เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า

48. ควรตั้งโคมไฟที่โต๊ะทำงาน หรือติดตั้งไฟเฉพาะจุด แทนการ
เปิดไฟทั้งห้องเพื่อทำงาน จะประหยัดไฟลงไปได้มาก

49. ควรใช้สีอ่อนตกแต่งอาคาร ทาผนังนอกอาคารเพื่อการสะท้อน
แสงที่ดี และทาภายในอาคารเพื่อทำให้ห้องสว่างได้มากกว่า

50. ใช้แสงสว่างจากธรรมชาติให้มากที่สุด เช่น ติดตั้งกระจก
หรือติดฟิล์มที่มีคุณสมบัติป้องกันความร้อน แต่ยอมให้แสงผ่าน
เข้าได้เพื่อลดการใช้พลังงานเพื่อแสงสว่างภายในอาคาร

51. ถอดหลอดไฟออกครึ่งหนึ่งในบริเวณที่มีความต้องการใช้
แสงสว่างน้อย หรือบริเวณที่มีแสงสว่างพอเพียงแล้ว

52. ปิดตู้เย็นให้สนิท ทำความสะอาดภายในตู้เย็น และแผ่นระบาย
ความร้อนหลังตู้เย็นสม่ำเสมอ เพื่อให้ตู้เย็นไม่ต้องทำงานหนักและ
เปลืองไฟ

53. อย่าเปิดตู้เย็นบ่อย อย่านำของร้อนเข้าแช่ในตู้เย็น เพราะจะ
ทำให้ตู้เย็นทำงานเพิ่มขึ้น กินไฟมากขึ้น

54. ตรวจสอบขอบยางประตูของตู้เย็นไม่ให้เสื่อมสภาพ เพราะจะ
ทำให้ความเย็นรั่วออกมาได้ ทำให้สิ้นเปลืองไฟมากกว่าที่จำเป็น

55. เลือกขนาดตู้เย็นให้เหมาะสมกับขนาดครอบครัว อย่าใช้ตู้เย็น
ใหญ่เกินความจำเป็นเพราะกินไฟมากเกินไป และควรตั้งตู้เย็นไว้
ห่างจากผนังบ้าน 15 ซม.

56. ควรละลายน้ำแข็งในตู้เย็นสม่ำเสมอ การปล่อยให้น้ำแข็งจับ
หนาเกินไป จะทำให้เครื่องต้องทำงานหนัก ทำให้กินไฟมาก

57. เลือกซื้อตู้เย็นประตูเดียว เนื่องจากตู้เย็น 2 ประตู จะกินไฟ
มากกว่าตู้เย็นประตูเดียวที่มีขนาดเท่ากัน เพราะต้องใช้ท่อน้ำยา
ทำความเย็นที่ยาวกว่า และใช้คอมเพรสเซอร์ขนาดใหญ่กว่า

58. ควรตั้งสวิตช์ควบคุมอุณหภูมิของตู้เย็นให้เหมาะสม การตั้ง
ที่ตัวเลขต่ำเกินไป อุณหภูมิจะเย็นน้อย ถ้าตั้งที่ตัวเลขสูงเกินไปจะเย็นมาก
เพื่อให้ประหยัดพลังงานควรตั้งที่เลขต่ำที่มีอุณหภูมิพอเหมาะ

59. ไม่ควรพรมน้ำจนแฉะเวลารีดผ้า เพราะต้องใช้ความร้อนใน
การรีดมากขึ้น เสียพลังงานมากขึ้น เสียค่าไฟเพิ่มขึ้น

60. ดึงปลั๊กออกก่อนการรีดเสื้อผ้าเสร็จ เพราะความร้อนที่เหลือ
ในเตารีด ยังสามารถรีดต่อได้จนกระทั่งเสร็จ ช่วยประหยัดไฟฟ้า

61. เสียบปลั๊กครั้งเดียว ต้องรีดเสื้อให้เสร็จ ไม่ควรเสียบและ
ถอดปลั๊กเตารีดบ่อยๆ เพราะการทำให้เตารีดร้อนแต่ละครั้ง
กินไฟมาก

62. ลด ละ เลี่ยง การใส่เสื้อสูท เพราะไม่เหมาะสมกับสภาพอากาศ
เมืองร้อน สิ้นเปลืองการตัด ซัก รีด และความจำเป็นในการเปิด
เครื่องปรับอากาศ

63. ซักผ้าด้วยเครื่อง ควรใส่ผ้าให้เต็มกำลังของเครื่อง เพราะซัก
1 ตัวกับซัก 20 ตัว ก็ต้องใช้น้ำในปริมาณเท่าๆ กัน

64. ไม่ควรอบผ้าด้วยเครื่อง เมื่อใช้เครื่องซักผ้า เพราะเปลืองไฟ
มาก ควรตากเสื้อผ้ากับแสงแดดหรือแสงธรรมชาติจะดีกว่า ทั้งยัง
ช่วยประหยัดไฟได้มากกว่า

65. ปิดโทรทัศน์ทันทีเมื่อไม่มีคนดู เพราะการเปิดทิ้งไว้โดยไม่มี
คนดู เป็นการสิ้นเปลืองไฟฟ้าโดยใช่เหตุ แถมยังต้องซ่อมเร็วอีกด้วย

66. ไม่ควรปรับจอโทรทัศน์ให้สว่างเกินไป และอย่าเปิดโทรทัศน์ให้
เสียงดังเกินความจำเป็น เพราเปลืองไฟ ทำให้อายุเครื่องสั้นลงด้วย

67. อยู่บ้านเดียวกัน ดูโทรทัศน์รายการเดียวกัน ก็ควรจะดู
เครื่องเดียวกัน ไม่ใช่ดูคนละเครื่อง คนละห้อง เพราะจะทำให้
สิ้นเปลืองพลังงาน

68. เช็ดผมให้แห้งก่อนเป่าผมทุกครั้ง ใช้เครื่องเป่าผมสำหรับ
แต่งทรงผม ไม่ควรใช้ทำให้ผมแห้ง เพราะต้องเป่านาน เปลืองไฟฟ้า

69. ใช้เตาแก๊สหุงต้มอาหาร ประหยัดกว่าใช้เตาไฟฟ้า เตาอบไฟฟ้า
และควรติดตั้งวาล์วนิรภัย (Safety Value) เพื่อความปลอดภัยด้วย

70. เวลาหุงต้มอาหารด้วยเตาไฟฟ้า ควรจะปิดเตาก่อนอาหารสุก
5 นาที เพราะความร้อนที่เตาจะร้อนต่ออีกอย่างน้อย 5 นาที
เพียงพอที่จะทำให้อาหารสุกได้

71. อย่าเสียบปลั๊กหม้อหุงข้าวไว้ เพราะระบบอุ่นจะทำงาน
ตลอดเวลา ทำให้สิ้นเปลืองไฟเกินความจำเป็น

72. กาต้มน้ำไฟฟ้า ต้องดึงปลั๊กออกทันทีเมื่อน้ำเดือด อย่าเสียบไฟ
ไว้เมื่อไม่มีคนอยู่ เพราะนอกจากจะไม่ประหยัดพลังงานแล้ว
ยังอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้

73. แยกสวิตช์ไฟออกจากกัน ให้สามารถเปิดปิดได้เฉพาะจุด ไม่
ใช้ปุ่มเดียวเปิดปิดทั้งชั้น ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองและสูญเปล่า

74. หลีกเลี่ยงการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ต้องมีการปล่อยความร้อน
เช่น กาต้มน้ำ หม้อหุงต้ม ไว้ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ

75. ซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ และหมั่นทำ
ความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่เสมอ จะทำให้ลดการสิ้นเปลืองไฟได้

76. อย่าเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้ถ้าไม่ใช้งาน ติดตั้งระบบลดกระแส
ไฟฟ้าเข้าเครื่องเมื่อพักการทำงาน จะประหยัดไฟได้ร้อยละ 35-40
และถ้าหากปิดหน้าจอทันทีเมื่อไม่ใช้งาน จะประหยัดไฟได้ร้อยละ 60

77. ดูสัญลักษณ์ Energy Star ก่อนเลือกซื้ออุปกรณ์สำนักงาน
(เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องโทรสาร เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า
เครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ) ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงาน ลดการใช้
กำลังไฟฟ้า เพราะจะมีระบบประหยัดไฟฟ้าอัตโนมัติ



วิธีประหยัดน้ำ



78. ใช้น้ำอย่างประหยัด หมั่นตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำ เพื่อลด
การสูญเสียน้ำอย่างเปล่าประโยชน์

79. ไม่ควรปล่อยให้น้ำไหลตลอดเวลาตอนล้างหน้า แปรงฟัน โกน
หนวด และถูสบู่ตอนอาบน้ำ เพราะจะสูญน้ำไปโดยเปล่า
ประโยชน์ นาทีละหลายๆ ลิตร

80. ใช้สบู่เหลวแทนสบู่ก้อนเวลาล้างมือ เพราะการใช้สบู่ก้อน
ล้างมือจะใช้เวลามากกว่าการใช้สบู่เหลว และการใช้สบู่เหลว
ที่ไม่เข้มข้น จะใช้น้ำน้อยกว่าการล้างมือด้วยสบู่เหลวเข้มข้น

81. ซักผ้าด้วยมือ ควรรองน้ำใส่กาละมังแค่พอใช้ อย่าเปิดน้ำไหล
ทิ้งไว้ตลอดเวลาซัก เพราะสิ้นเปลืองกว่าการซักโดยวิธีการขัง
น้ำไว้ในกาละมัง

82. ใช้ Sprinkler หรือฝักบัวรดน้ำต้นไม้แทนการฉีดน้ำด้วย
สายยาง จะประหยัดน้ำได้มากกว่า

83. ไม่ควรใช้สายยางและเปิดน้ำไหลตลอดเวลาในขณะที่ล้างรถ
เพราะจะใช้น้ำมากถึง 400 ลิตร แต่ถ้าล้างด้วยน้ำและฟองน้ำใน
กระป๋องหรือภาชนะบรรจุน้ำ จะลดการใช้น้ำได้มากถึง 300 ลิตร
ต่อการล้างหนึ่งครั้ง

84. ไม่ควรล้างรถบ่อยครั้งจนเกินไป เพราะนอกจากจะมีความ
สิ้นเปลืองน้ำแล้ว ยังทำให้เกิดสนิมที่ตัวถังได้ด้วย

85. ตรวจสอบท่อน้ำรั่วภายในบ้าน ด้วยการปิดก๊อกน้ำทุกตัว
ภายในบ้าน หลังจากทีทุกคนเข้านอน (หรือเวลาที่แน่ใจว่า ไม่มี
ใครใช้น้ำระยะหนึ่ง จดหมายเลขวัดน้ำไว้ ถ้าตอนเช้ามาตรเคลื่อนที่
โดยที่ยังไม่มีใครเปิดน้ำใช้ ก็เรียกช่างมาตรวจซ่อมได้เลย)

86. ควรล้างพืชผักและผลไม้ในอ่างหรือภาชนะที่มีการกักเก็บน้ำ
ไว้เพียงพอ เพราะการล้างด้วยน้ำที่ไหลจากก๊อกน้ำโดยตรง จะใช้
น้ำมากกว่า การล้างด้วยน้ำที่บรรจุไว้ในภาชนะถึงร้อยละ 50

87. ตรวจสอบชักโครกว่ามีจุดรั่วซึมหรือไม่ ให้ลองหยดสีผสมอาหาร
ลงในถังพักน้ำ แล้วสังเกตดูที่คอห่าน หากมีน้ำสีลงมาโดยที่ไม่ได้กด
ชักโครก ให้รีบจัดการซ่อมได้เลย

88. ไม่ใช้ชักโครกเป็นที่ทิ้งเศษอาหาร กระดาษ สารเคมีทุกชนิด
เพราะจะทำให้สูญเสียน้ำจากการชักโครก เพื่อไล่สิ่งของลงท่อ

89. ใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ เช่น ชักโครกประหยัดน้ำ ฝักบัว
ประหยัดน้ำ ก๊อกประหยัดน้ำ หัวฉีดประหยัดน้ำ เป็นต้น

90. ติด Areator หรือ อุปกรณ์เติมอากาศที่หัวก๊อก เพื่อช่วย
เพิ่มอากาศให้แก่น้ำที่ไหลออกจากหัวก๊อก ลดปริมาณการไหลของ
น้ำ ช่วยประหยัดน้ำ

91. ไม่ควรรดน้ำต้นไม้ตอนแดดจัด เพราะน้ำจะระเหยหมดไป
เปล่าๆ ให้รดตอนเช้าที่อากาศยังเย็นอยู่ การระเหยจะต่ำกว่า
ช่วยให้ประหยัดน้ำ

92. อย่าทิ้งน้ำดื่มที่เหลือในแก้วโดยไม่เกิดประโยชน์อันใด ใช้รดน้ำ
ต้นไม้ ใช้ชำระพื้นผิว ใช้ชำระความสะอาดสิ่งต่างๆ ได้อีกมาก

93. ควรใช้เหยือกน้ำกับแก้วเปล่าในการบริการน้ำดื่ม และให้
ผู้ที่ต้องการดื่มรินน้ำดื่มเอง และควรดื่มให้หมดทุกครั้ง

94. ล้างจานในภาชนะที่ขังน้ำไว้ จะประหยัดน้ำได้มากกว่าการ
ล้างจานด้วยวิธีที่ปล่อยให้น้ำไหลจากก๊อกน้ำตลอดเวลา

95. ติดตั้งระบบน้ำให้สามารถใช้ประโยชน์จากการเก็บและจ่ายน้ำ
ตามแรงโน้มถ่วงของโลก เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานไปสูบและ
จ่ายน้ำภายในอาคาร



วิธีประหยัดพลังงานอื่นๆ



96. อย่าใช้กระดาษหน้าเดียวทิ้ง ให้ใช้กระดาษอย่างคุ้มค่า
ใช้ทั้งสองหน้า ให้นึกเสมอว่า กระดาษแต่ละแผ่น
ย่อมหมายถึงต้นไม้หนึ่งต้นที่ต้องเสียไป

97. ในสำนักงานให้ใช้การส่งเอกสารต่อๆ กัน
แทนการสำเนาเอกสารหลายๆ ชุด เพื่อประหยัดกระดาษ
ประหยัดพลังงาน

98. ลดการสูญเสียกระดาษเพิ่มมากขึ้น ด้วยการหลีกเลี่ยง
การใช้กระดาษปะหน้าโทรสาร ชนิดเต็มแผ่น และหันมาใช้
กระดาษขนาดเล็ก ที่สามารถตัดพับบนโทรสารได้ง่าย

99. ใช้การส่งผ่านข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านระบบคอมพิวเตอร์
โดยโมเด็ม หรือแผ่นดิสก์ แทนการส่งข่าวสารข้อมูลโดยเอกสาร
ช่วยลดขั้นตอนการทำงาน ลดการใช้พลังงานได้มาก

100. หลีกเลี่ยงการใช้จานกระดาษ แก้วน้ำกระดาษ
เวลาจัดงานสังสรรค์ต่างๆ เพราะสิ้นเปลืองพลังงานในการผลิต

101. รู้จักแยกแยะประเภทขยะ เพื่อช่วยลดขั้นตอน
และลดพลังงานในการทำลายขยะ และทำให้ขยะทั้งหลาย
ง่ายต่อการกำจัด

102. หนังสือพิมพ์อ่านเสร็จแล้วอย่าทิ้ง ให้เก็บไว้ขาย หรือพับถุง
เก็บไว้ทำอะไรอย่างอื่น ใช้ซ้ำทุกครั้งถ้าทำได้
ช่วยลดการใช้พลังงานในการผลิต

103. ขึ้นลงชั้นเดียวหรือสองชั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ลิฟท์
จำไว้เสมอว่าการกดลิฟท์แต่ละครั้ง สูญเสียพลังงานถึง 7 บาท

104. งด เลิก บริโภคผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้งเลย เพราะเป็น
การสิ้นเปลืองพลังงานในการผลิต ใช้ทรัพยากรธรรมชาติสิ้นเปลือง
เพิ่มปริมาณขยะ เปลืองพลังงานในการกำจัดขยะ

105. ลดการใช้ผลิตภัณฑ์ ที่มีบรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการทำลาย
เช่น โฟม หรือพลาสติก ควรเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้
(Reuse) หรือนำไปผ่านกระบวนการผลิตมาใช้ใหม่ได้ (Recycle)

106. สนับสนุนสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ เป็นวัสดุที่สามารถนำมาผ่าน
กระบวนการนำมาใช้ใหม่ (Recycle) เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ
พลาสติกบางประเภท โดยจัดให้มีการแยกขยะในครัวเรือน
และในสำนักงาน

107. ให้ความร่วมมือ สนับสนุน หรือเข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงาน
ต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่รณรงค์ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์พลังงาน

108. กระตุ้นเตือนให้ผู้อื่นช่วยกันประหยัดพลังงาน
โดยการติดสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายให้ช่วยประหยัดไฟ
ตรงบริเวณใกล้สวิทช์ไฟ เพื่อเตือนให้ปิดเมื่อเลิกใช้แล้ว


พลังงานนิวเคลียร์

พลังงานนิวเคลียร์

              โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนประเภทหนึ่ง เรียกชื่อตามประเภทของเชื้อเพลิงที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า  มีหลักการทำงานคล้ายกับโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ โดยอาศัยพลังความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาการแตกตัวของธาตุยูเรเนียม  ไปใช้ในกระบวนการผลิตไอน้ำที่ใช้ในการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้า  โดยยูเรเนียม-235 เพียง 1 กรัมให้ความร้อนเทียบเท่าถ่านหินชั้นดี 3 ตัน

                                                                   โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ที่มา - http://media-2.web.britannica.com/eb-media/97/99697-004-DA347454.jpg

               “พลังงานนิวเคลียร์” มีต้นทุนการผลิตที่สามารถแข่งขันกับเชื้อเพลิงประเภทอื่นได้ ไม่สร้างปัญหาก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะโลกร้อน แต่ในขณะเดียวกัน การก่อสร้างต้องใช้เงินลงทุนสูง และต้องยอมรับว่ายังมีคนจำนวนมากที่ยังมีความกังวลและไม่มั่นใจกับความปลอดภัยจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

         สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย. พลังงานนิวเคลียร์: แหล่งพลังงานของอนาคต.
                   http://www.nst.or.th/article/article0138.htm. 16 พฤศจิกายน 2552.

พลังงานจากชีวมวล

พลังงานจากชีวมวล

              ชีวมวล (Biomass) คือ สารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติและสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงานได้ เช่น แกลบ  ชานอ้อย  เศษไม้ กากปาล์ม กากมัน ซังข้าวโพด เป็นต้น

                                                                เชื้อเพลิงชีวมวล
ดัดแปลงภาพจาก http://www.cheshirerenewables.org.uk/images/biomass_strat.jpg

              การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล  สามารถทำได้โดยการเผาไหม้ชีวมวลโดยตรง  (Direct Combustion) และกระบวนการเคมีความร้อน (Thermochemical Conversion) ซึ่งชีวมวลมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยหากมีการใช้ประโยชน์ในบริเวณที่ไม่ไกลจากแหล่งเชื้อเพลิงซึ่งจะไม่เสียต้นทุนค่าขนส่งมากนัก แต่เนื่องจากชีวมวลเป็นวัสดุที่เหลือใช้จากการแปรรูปทางการเกษตร ทำให้มีปริมาณไม่แน่นอน ขึ้นกับสภาพดินฟ้าอากาศ บางชนิดมีความชื้นสูงและอยู่กระจัดกระจาย การบริหารจัดการเชื้อเพลิงทำได้ยาก ราคามีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

          อชิตพล ศศิธรานุวัฒน์. (2548). วิทยาศาสตร์พลังงาน. http://science.uru.ac.th/pro_doc/doc/15.doc. 16 พฤศจิกายน 2552.

พลังงานจากถ่านหิน

พลังงานจากถ่านหิน

              ถ่านหินนับว่าเป็นแหล่งพลังงานจากซากดึกดำบรรพ์ที่มีปริมาณมากที่สุดในโลก มนุษย์มีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการปรุงอาหารและให้ความร้อนเป็นเวลานับพันปีมาแล้ว โดยถ่านหิน (coal) คือหินตะกอนชนิดหนึ่งซึ่งสามารถติดไฟได้ มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ สารประกอบของคาร์บอน ซึ่งการใช้ประโยชน์จากถ่านหินอาจแบ่งได้หลักๆ คือ การใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อน การใช้เป็นแหล่งพลังงานในการผลิตกระแสไฟฟ้า และการใช้ถ่านหินในวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น การใช้ถ่านหินเป็นแหล่งวัตถุดิบเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกหลายอย่างเช่น การนำมาผลิตเป็นถ่านโค้กเทียม ถ่านกัมมันต์ ปุ๋ยยูเรีย หรือการนำมาสกัดเอาน้ำมันดิบ เป็นต้น
              ถ่านหินสามารถจำแนกประเภทออกเป็น 5 ชนิด ได้แก่ พีต (Peat) ลิกไนต์ (Lignite) ซับบิทูมินัส (Sub-Bituminus) บิทูมัส (Bituminus) และแอนทราไซต์ (Anthracite)


รูปถ่านหินชนิดต่างๆ (ขนาดลูกศรแสดงปริมาณการทับถม ความร้อน และระยะเวลา)
ที่มา - http://www.uky.edu/KGS/coal/images/peat_to_anthracite.jpg

              ข้อดีของการใช้ถ่านหินเป็นแหล่งพลังงาน คือ มีต้นทุนการผลิตต่ำ มีปริมาณมาก แต่การใช้ถ่านหินมาเป็นแหล่งพลังงาน จะทำให้เกิดก๊าซพิษที่ได้จากการเผาไหม้ของถ่านหิน ทำให้เกิดฝนกรดและภาวะโลกร้อน แต่ปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีที่เรียกว่าถ่านหินสะอาด ซึ่งทำให้ปัญหามลภาวะลดลง



แหล่งข้อมูลอ้างอิง

          อชิตพล ศศิธรานุวัฒน์. (2548). วิทยาศาสตร์พลังงาน. http://science.uru.ac.th/pro_doc/doc/10.doc. 16 พฤศจิกายน 2552.

พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ

พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ

              ก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงปิโตรเลียมชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเกิดจากการทับถมของสิ่งมีชีวิตนับล้านปี ประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นหลัก มีคุณสมบัติเป็นเชื้อเพลิงสะอาด มีการเผาไหม้สมบูรณ์จึงส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าปิโตรเลียมประเภทอื่นๆ


ที่มา - http://media-2.web.britannica.com/eb-media/24/95624-004-377D1817.jpg

              เราสามารถใช้ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติได้ใน ๒ ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
                            ๑) ใช้เป็นเชื้อเพลิงโดยตรงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า
                            ๒) นำไปผ่านกระบวนการแยกในโรงแยกก๊าซ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี  เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์  เป็นก๊าซหุงต้มในครัวเรือน เป็นต้น

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

          อชิตพล ศศิธรานุวัฒน์. (2548). วิทยาศาสตร์พลังงาน. http://science.uru.ac.th/pro_doc/doc/9.doc. 16 พฤศจิกายน 2552.

พลังงานความร้อนใต้พิภพ

พลังงานความร้อนใต้พิภพ | โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ | ผลกระทบจากการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพ

              พลังงานความร้อนใต้พิภพ หมายถึง พลังงานความร้อนตามธรรมชาติที่ได้จากแหล่งความร้อนที่ถูกกักเก็บอยู่ภายใต้ผิวโลก โดยปกติอุณหภูมิใต้ผิวโลกจะเพิ่มขึ้นตามความลึก และเมื่อยิ่งลึกลงไปถึงภายในใจกลางของโลก จะมีแหล่งพลังงานความร้อนมหาศาลอยู่ ความร้อนที่อยู่ใต้ผิวโลกนี้มีแรงดันสูงมาก จึงพยายามที่จะดันตัวออกจากผิวโลกตามรอยแตกต่างๆ แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ มักพบในบริเวณที่เรียกว่าจุดร้อน (hot spots) โดยบริเวณนั้นจะมีค่าการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิตามความลึก มีบริเวณที่มีการไหล หรือแผ่กระจาย ของความร้อน จากภายใต้ผิวโลกขึ้นมาสู่ผิวดิน (geothermal gradient) มากกว่าปกติประมาณ 1.5-5 เท่า เนื่องจากในบริเวณดังกล่าวเปลือกโลกมีการขยับตัวเคลื่อนที่ทำให้เกิดรอยแตกของชั้นหิน สามารถแบ่งได้ดังนี้


ภาพชั้นต่างๆของโลก
ที่มา - http://www.solcomhouse.com/images/struct.jpg

ชั้นเปลือกโลก แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
              1. เปลือกโลกส่วนบน (upper crust) หรือเรียกว่า ชั้นไซอัล (sial)
              2. เปลือกโลกส่วนล่าง (lower crust) หรือเรียกว่า ชั้นไซมา (sima)
ชั้นแมนเทิล สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
              1. ชั้นแมนเทิลส่วนบน (upper mantle)
              2. ชั้นแมนเทิลส่วนล่าง (lower mantle)
แกนโลก สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ
              1. แกนโลกชั้นนอก (outer core)
              2. แกนโลกชั้นใน (inner core)
              ลักษณะทั่วไปของแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ สามารถแบ่งเป็นลักษณะใหญ่ๆ ได้ 4 ลักษณะคือ
                            1. แหล่งที่เป็นไอน้ำ เป็นแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่อยู่ใกล้กับแหล่งหินหลอมเหลวในระดับตื้นๆ ทำให้น้ำในบริเวณนั้นได้รับพลังงานความร้อนสูงจนกระทั่งเกิดการเดือดเป็นไอน้ำร้อน
                            2. แหล่งที่เป็นน้ำร้อน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นน้ำเค็ม (hot brine sources) เป็นแหล่งพลังงานความร้อนที่พบเห็นได้ทั่วไป มีลักษณะเป็นน้ำเค็มร้อนโดยมีจะอุณหภูมิต่ำกว่า 180 องศาเซลเซียส
                            3. แหล่งที่เป็นหินร้อนแห้ง แหล่งที่เป็นหินร้อนแห้ง (hot dry rock) เป็นแหล่งที่สะสมพลังงานความร้อนในรูปของหินเนื้อแน่นโดยไม่มีน้ำร้อนหรือไอน้ำเกิดขึ้นเลย แหล่งลักษณะนี้จะมีค่าการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิตามความลึกเกินกว่า 40 องศาเซลเซียส
                            4. แหล่งที่เป็นแมกมา (molten magma) แมกมาหรือลาวาเหลว เป็นแหล่งพลังงานความร้อนที่มีค่าสูงสุดในบรรดาแหล่งพลังงานความร้อนที่กล่าวมา โดยมีอุณหภูมิสูงกว่า 650 องศาเซลเซียส ส่วนใหญ่จะพบในแอ่งใต้ภูเขาไฟ

โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ
              การใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนใต้พิภพมีมาตั้งแต่สมัยโรมัน โดยใช้ในลักษณะของการนำน้ำร้อนมาเพื่อการรักษาโรคและใช้ประโยชน์ภายในครัวเรือน ในยุคต่อมาได้มีการนำเอาไอน้ำร้อนมาใช้ในการประกอบอาหาร ใช้น้ำร้อนสำหรับอาบชำระร่างกาย ใช้ล้างภาชนะ และใช้ในการบำบัดรักษาโรค การใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพเพื่อการผลิตไฟฟ้าเริ่มต้นขึ้นในปี 1913 ที่ประเทศอิตาลี โดยใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพจากแหล่งลาร์เดอเรลโล มีขนาดกำลังการผลิต 250 กิโลวัตต์ นับว่าเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพแห่งแรกในโลกที่มีการผลิตไฟฟ้าออกมาในเชิงอุตสาหกรรม โดยในปัจจุบันได้พัฒนาและขยายเป็นโรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะเพิ่มขนาดกำลังการผลิตมากขึ้นเป็น 1,200 เมกะวัตต์ (กลับขึ้นด้านบน)
ผลกระทบจากการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพ

              พลังงานความร้อนใต้พิภพ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายประการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว อย่างไรก็ตามการใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานความร้อนนี้ แม้จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม แต่ก็ควรทำการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจและหาทางป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดตามมาได้ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพสามารถสรุปได้ดังนี้
                             - ก๊าซพิษ โดยทั่วไปพลังงานความร้อนที่ได้จากแหล่งใต้พิภพ มักมีก๊าซประเภทที่ไม่
สามารถรวมตัว ซึ่งก๊าซเหล่านี้จะมีอันตรายต่อระบบการหายใจหากมีการสูดดมเข้าไป ดังนั้นจึงต้องมีวิธีกำจัดก๊าซเหล่านี้โดยการเปลี่ยนสภาพของก๊าซให้เป็นกรด โดยการให้ก๊าซนั้นผ่านเข้าไปในน้ำซึ่งจะเกิด ปฏิกิริยาเคมีได้เป็นกรดซัลฟิวริกขึ้น โดยกรดนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
                            - แร่ธาตุ น้ำจากแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพในบางแหล่ง มีปริมาณแร่ธาตุต่างๆ ละลายอยู่ในปริมาณที่สูงซึ่งการนำน้ำนั้นมาใช้แล้วปล่อยระบายลงไปผสมกับแหล่งน้ำธรรมชาติบนผิวดินจะส่งผลกระทบต่อระบบน้ำผิวดินที่ใช้ในการเกษตรหรือใช้อุปโภคบริโภคได้ ดังนั้นก่อนการปล่อยน้ำออกไป จึงควรทำการแยกแร่ธาตุต่างๆ เหล่านั้นออก โดยการทำให้ตกตะกอนหรืออาจใช้วิธีอัดน้ำนั้นกลับคืนสู่ใต้ผิวดินซึ่งต้องให้แน่ใจว่าน้ำที่อัดลงไปนั้นจะไม่ไหลไปปนกับแหล่งน้ำใต้ดินธรรมชาติที่มีอยู่ ความร้อนปกติน้ำจากแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ ที่ผ่านการใช้ประโยชน์จากระบบผลิตไฟฟ้าแล้วจะมีอุณหภูมิลดลง แต่อาจยังสูงกว่าอุณหภูมิของน้ำในแหล่งธรรมชาติเพราะยังมีความร้อนตกค้างอยู่
                            ดังนั้นก่อนการระบายน้ำนั้นลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติควรทำให้น้ำนั้นมีอุณหภูมิเท่าหรือใกล้เคียงกับอุณหภูมิของน้ำในแหล่งธรรมชาติเสียก่อน โดยอาจนำไปใช้ประโยชน์อีกครั้งคือการนำไปผ่านระบบการอบแห้งหรือการทำความอบอุ่นให้กับบ้านเรือน
                            - การทรุดตัวของแผ่นดิน ซึ่งการนำเอาน้ำร้อนจากใต้ดินขึ้นมาใช้ ย่อมทำให้ในแหล่งพลังงานความร้อนนั้นเกิดการสูญเสียเนื้อมวลสารส่วนหนึ่งออกไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาการทรุดตัวของแผ่นดินขึ้นได้ ดังนั้นหากมีการสูบน้ำร้อนขึ้นมาใช้ จะต้องมีการอัดน้ำซึ่งอาจเป็นน้ำร้อนที่ผ่านการใช้งานแล้วหรือน้ำเย็นจากแหล่งอื่นลงไปทดแทนในอัตราเร็วที่เท่ากัน เพื่อป้องกันปัญหาการทรุดตัวของแผ่นดิน (กลับขึ้นด้านบน)



แหล่งข้อมูลอ้างอิง

          อชิตพล ศศิธรานุวัฒน์. (2548). วิทยาศาสตร์พลังงาน. http://science.uru.ac.th/pro_doc/doc/14.doc. 16 พฤศจิกายน 2552.

วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พลังงานทดแทน

พลังงานทดแทน หมายถึง พลังงานที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถแบ่งตามแหล่งที่ได้มาเป็น ๒ ประเภท คือ
พลังงานทดแทน (Alternative Energy) จากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไปอาจเรียกว่าพลังงานสิ้นเปลือง ได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น และพลังงานทดแทนอีกประเภทหนึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีกเรียกว่า พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy)ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น
 
                     ศักยภาพ และสถานภาพการใช้ประโยชน์ของพลังงานทดแทน
           การศึกษาและพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นการศึกษา ค้นคว้า ทดสอบ พัฒนา และสาธิต ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาดไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น พลังงานลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล และอื่นๆ เพื่อให้มีการผลิตและการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายมีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมทั้งทางด้านเทคนิค เศรษฐกิจ และสังคม สำหรับผู้ใช้ในเมืองและชนบท ซึ่งในการศึกษา ค้นคว้า และพัฒนาพลังงานทดแทนดังกล่าว ยังรวมถึงการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์เพื่อการใช้งานมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยงานศึกษาและพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งมีโครงการที่เกี่ยวข้องโดยตรงภายใต้แผนงานนี้คือโครงการศึกษาวิจัยด้านพลังงาน และมีความเชื่อมโยงกับแผนงานพัฒนาชนบทในโครงการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าประจุ แบตเตอรี่ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับหมู่บ้านชนบทที่ไม่มีไฟฟ้า โดยงานศึกษา และพัฒนาพลังงานทดแทนจะเป็นงานประจำที่มีลักษณะการดำเนินงานของกิจกรรมต่างๆ ในเชิงกว้างเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทน ทั้งในด้านวิชาการเชิงทฤษฎี และอุปกรณ์เครื่องมือทดลอง และการทดสอบ รวมถึงการส่งเสริมและเผยแพร่ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุน และรองรับความพร้อมในการจัดตั้งโครงการใหม่ๆ ในโครงการศึกษาวิจัยด้านพลังงานและโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การศึกษาค้นคว้าเบื้องต้นการติดตามความก้าวหน้าและร่วมมือประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาต้นแบบ ทดสอบ วิเคราะห์ และประเมินความเหมาะสมเบื้องต้นและเป็นงานส่งเสริมการพัฒนาโครงการที่กำลังดำเนินการให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตลอดจนสนับสนุนให้โครงการที่เสร็จสิ้นแล้วได้นำผลไปดำเนินการส่งเสริมและเผยแพร่และการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมต่อไป
รูปแบบของพลังงานทดแทนปัจจุบัน เช่น


ที่มา : http: www1.mod.go.th

พลังงานแสงอาทิตย์ ทางเลือกของพลังงานไทย



เรื่อง / ภาพ : กรวิกา วีระพันธ์เทพา












การผลิตไฟฟ้าในประเทศที่ต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติถึงร้อยละ 72 กับปริมาณการใช้ไฟที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อาจทำให้คำถามว่า “ถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องสนใจพลังงานหมุนเวียนหรือยัง?” มาถึงเร็วขึ้น

กลางพื้นที่ที่แสงแดดจัดใน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร แผงโซลาร์เซลล์จำนวน 29,160 แผง เรียงรายอยู่กลางพื้นที่ 133 ไร่ มีกำลังการผลิต 6 เมกะวัตต์ สามารถจ่ายไฟฟ้าสู่ระบบสายส่งของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคตั้งแต่ต้นเดือน กุมภาพันธ์ 2554

โซลาร์ฟาร์มแห่งนี้ เป็นหนึ่งในแผนโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ บริษัทโซล่า เพาเวอร์ จำกัด ตั้งเป้าไว้ว่าจะลงทุนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 34 โครงการ ภายในปี 2556 ซึ่งขณะนี้แล้วเสร็จไป 6 โครงการที่นครราชสีมา เลย และนครพนม

วันดี กุญชรยาคง กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซล่า พาวเวอร์ จำกัด เปิดเผยว่า การก่อสร้างแต่ละโครงการ ต้องใช้งบประมาณ 600-700 ล้านบาท รวมทั้งหมด 24,000 ล้านบาท และคาดว่าจะคืนทุนภายใน 7-8 ปี ก่อนที่บริษัทจะลงทุน ได้ประเมินแล้วว่าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเติบโตทาง ธุรกิจ เนื่องจากพื้นที่ภาคอีสานบ้านเรามีความเข้มของแสงที่ดี มีประสิทธิภาพต่อการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และเป็นที่ราบสูง ความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยต่ำ

"ธุรกิจโซลาร์ฟาร์มจะเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตในอนาคต เพราะเป็นพลังงานหมุนเวียนที่ไม่มีวันหมด และเป็นพลังงานสะอาด เกิดมลพิษน้อยมาก อาศัยการลงทุนเพียงครั้งเดียวก็สามารถผลิตพลังงานต่อไปได้อีกหลายสิบปี การที่มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน บริษัท ไทยฟ้า เพาเวอร์ จำhttp://www.blogger.com/blogger.g?blogID=4017251614721036151#editor/target=post;postID=7448163079111811249กัด และบริษัทการเงินระหว่างประเทศ ไอ เอฟ ซี เข้ามาร่วมถือหุ้นกับเรา เป็นตัวบ่งบอกอย่างหนึ่งว่าเราได้รับความไว้วางใจว่าจะสามารถทำให้ธุรกิจ พลังงานหมุนเวียนเติบโตได้”

วันดี ระบุว่า ปัจจุบันมีธุรกิจหลายแห่งที่แจ้งความจำนงขอทำธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว จึงอยากให้รัฐบาลให้ความสนใจพลังงานชนิดนี้โดยการให้ออกมาตรการที่เอื้อต่อ การทำธุรกิจ เช่น รับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดให้มากขึ้น สนับสนุนเงินลงทุน ให้การสนับสนุนความรู้และเครือข่ายด้านพลังงานหมุนเวียน เพื่อความมั่นคงของพลังงานในประเทศ

"เมื่อเราสามารถลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ย่อมหมายถึงความมั่นคงของเราเอง เราวางตำแหน่งของบริษัทไว้ที่ความเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นรายแรกในประเทศ และมีแผนขยายผลไปยังประเทศในแถบอาเซียน ในฐานะผู้ออกแบบก่อสร้างที่ใช้เทคโนโลยีและงบประมาณอย่างเหมาะสมด้วย"

อย่างไรก็ตาม พลังงานแสงอาทิตย์ยังมีข้อจำกัดที่ต้องใช้ที่ดินมากเพื่อรับแสงอาทิตย์ให้ มากที่สุด ดังนั้น ยังมีความกังวลจากผู้เชี่ยวชาญหลายคนที่ห่วงเรื่องการใช้และจัดการที่ดิน อย่างเหมาะสมกับชุมชนท้องถิ่นนั้น ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจต้องคำนึงถึงด้วย เพื่อให้การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนเป็นมิตรอย่างแท้จริง









+++ ขั้นตอนการผลิตไฟฟ้าของโซลาร์ฟาร์ม +++
     แผง เซลล์แสงอาทิตย์จะเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ส่งไปยังเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า เป็นกระแสไฟฟ้าสลับ (ที่ใช้ในที่พักอาศัย) จากนั้นส่งไปยังตู้จ่ายกระแสไฟฟ้าหลัก หม้อแปลงไฟฟ้าเพิ่มแรงดันไฟฟ้าเป็น 22,000 โวลต์ แล้วส่งเข้าสู่ระบบจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค




 

วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

การใช้เซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย

การใช้เซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย

   ประเทศไทยได้เริ่มมีการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2519 โดยหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิแพทย์อาสาฯ สำหรับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนั้นได้รวบรวมข้อมูลและทดลองนำเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้ เมื่อปี พ.ศ. 2521 พร้อมกันนั้นได้มีนโยบายและแผนระดับชาติด้านเซลล์แสงอาทิตย์ บรรจุลงในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) และมีการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และใช้งานในปลายปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534)    โดยมีกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กรมโยธาธิการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานหลัก จนถึงปี พ.ศ. 2540  มีหน่วยงานต่างๆ ได้ติดตั้งและ ใช้งานในลักษณะต่างๆ รวมกันแล้วประมาณ 3,734 กิโลวัตต์ ในปัจจุบันการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้พัฒนาการใช้งานในลักษณะของการ สาธิตเพื่อผลิตไฟฟ้าขนาดที่ใหญ่ขึ้น โดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าร่วมกับพลังงานชนิดอื่นๆ เช่น ร่วมกับพลังน้ำ พลังงานลม กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้นั้นจะเชื่อมโยงเข้ากับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วน ภูมิภาค  ซึ่งสามารถสรุปกำลังการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ได้ดังนี้



วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

๑๐ เมษา ปฏิบัติการช่วยชาติ งดใช้พลังงาน ๑ ชั่วโมง


ด้วย กระทรวงพลังงาน (พน.) มีกำหนดจัดกิจกรรมรณรงค์ลดการใช้พลังงานพร้อมกันทั่วประเทศ ภายใต้ชื่อ "๑๐ เมษา ปฏิบัติการช่วยชาติ งดใช้พลังงาน ๑ ชั่วโมง" ในวันอังคารที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๕ ระหว่างเวลา ๑๔.๐๐ - ๑๕.๐๐ น. โดยจะมีพิธีการหลักที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล และมีนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษญ์ ชินวัตร เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการที่ในวันดังกล่าวได้มีการคาดการณ์ว่าจะเกิดความต้องการไฟฟ้าสูงสุด ๒๕,๔๔๖ เมกะวัตต์ ประกอบกับช่วงระหว่างวันที่ ๘ - ๑๗ เมษายน ๒๕๕๕ สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า จะหยุดการจ่ายก๊าซธรรมชาติอันเนื่องมาจากการปรับปรุงระบบ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามแผนที่ได้รับความเห็นชอบร่วมกันกับประเทศไทย

ที่มา; กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน

พลังงานทางเลือกกับปั๊มน้ำ

พลังงานทางเลือกกับปั๊มน้ำ ด้วยสภาพแวดล้อม และสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้พลังงานทางเลือกเป็นช่องทางที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะช่วยลดปัญหามลภาวะจากการใช้น้ำมัน หรือใช้พลังงานไฟฟ้ามากเกินไป การเลือกใช้พลังงานทางเลือกยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว พลังงานทางเลือกที่สามารถนำมาใช้กับปั้มน้ำ ขอแนะนำดังนี้ พลังงานลม โดยใช้กังหันลมสูบน้ำ สามารถใช้ได้ทั้งปั้มชัก และปั้มโยก (Lucky) เหมาะกับบริเวณที่มีลมแรง โดยข้อดีคือไม่ต้องใช้การดูแลรักษามาก แต่ข้อควรระวังคือ จะต้องดูทิศทางลม สำหรับปั้มโยก ให้ท่านนึกภาพกังหันลมที่วิดน้ำเข้านาเกลือก็จะพอนึกการทำงานของปั้มได้ พลังงานกล โดยใช้จักรยานสูบน้ำ เป็นการได้ประโยชน์ 2 ทาง คือ นอกจากได้ออกกำลังกายแล้วยังสามารถสูบน้ำได้ด้วย โดยต่อปั้มชัก ขนาด 1 นิ้ว เชื่อมกับรถจักรยานทางด้านหลัง การใช้จักรยานสูบน้ำนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหน่วยงานราชการ เช่น โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เขาชะโงก จ.นครนายก ,โรงเรียนพุทธรังสีพิบูล บ้านโพธิ์ ฉะเชิงเทรา, อาศรมพลังงาน เขาใหญ่, ศูนย์การเรียนรู้ฟื้นฟูผู้ประสบภัยอุทกภัยต้นแบบเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก ณ หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านแห อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ตามแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง , หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 51 สำนักงานพัฒนาพิเศษ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการทหารสูงสุด ตั้งอยู่บ้านคำเตย ต.โนนหนามแท่ง อ.เมืองฯ จ.อำนาจเจริญ เป็นต้น พลังงานแสงอาทิตย์ (solar cell) การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ (PV Stand alone system) : เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการออกแบบสำหรับใช้งานในพื้นที่ชนบทที่ไม่มีระบบ สายส่งไฟฟ้า อุปกรณ์ระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์ควบคุมการประจุแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับแบบอิสระ พลังงานแสงอาทิตย์นำมาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า DCสามารถนำมาใช้กับปั้มชัก ได้โดยไม่จำเป็นต้องแปลงไฟ จาก DC ให้เป็น AC เนื่องจาก *ปั้มชักมีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถหมุนตามปริมาณไฟฟ้าที่จ่ายออกมา โดยเฉพาะแสงอาทิตย์นั้นจะสว่างไม่เท่ากันทั้งวัน ถ้าต่อ Solar Cell โดยแปลงไฟ เป็น DC ต่อ เข้ากับปั้มชัก ถ้าแสงมากจะทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายออกมาก ปั้มก็ทำงานเดินเร็ว ถ้าแสงน้อย ก็จะทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายออกน้อย ปั้มก็จะเดินช้า แต่ปั้มชักจะไม่เสีย (* อ้างอิงจาก สรุปผลงานวิจัยการทดสอบเครื่องสูบน้ำแบบสูบชักซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)

หมู่บ้านต้นแบบพลังงานทดแทนครบวงจร

ที่มา ; http://www.youtube.com/watch?v=hzDZoqonZgk

โรงไฟฟ้าชีวมวลในโรงเรียน

ที่มา; http://www.youtube.com/watch?v=JSEs1B16_2w&feature=related

พลังงานลม

ที่มา ; http://www.youtube.com/watch?v=eFPllO8PZWY

พลังงานลม


พลังงานลม
พลังงานลม เป็นพลังงานธรรมชาติที่สะอาดและบริสุทธิ์ ใช้แล้วไม่มีวันหมดสิ้นไปจากโลก  จึงทำให้พลังงานลมได้รับความสนใจในการศึกษาและพัฒนาให้เกิดประโยชน์กัน อย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกัน กังหันลม ก็เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งทีสามารถนำพลังงานลมมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้โดยเฉพาะ ในการผลิตกระแสไฟฟ้าและการสูบน้ำ ซึ่งมีการใช้งานกันมาแล้วอย่างแพร่หลายในอดีตที่ผ่านมา
ลม เป็นการเคลื่อนไหวของอากาศจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงไปสู่บริเวณที่มี ความกดอากาศต่ำในแนวนอน โดยลมที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของคนเรานั้นคือ ลมระดับพื้นผิว ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทตามเหตุที่เกิดและบริเวณที่เกิด คือลมประจำปี ลมประจำฤดู ลมประจำเวลา และลมประจำถิ่น ส่วนลมที่จะไม่พูดถึงเลย คือลมพายุก็เป็นลมระดับพื้นผิวด้วยเช่นกัน ซึ่งลมแต่ละประเภทที่จะกล่าวถึงในที่นี้คือ
           ลมประจำปี  : เป็นลมที่พัดอยู่เป็นประจำตลอดทั้งปีในส่วนต่างๆ ของโลกแตกต่างกันไปในแต่ละเขตละติจูดของโลกเนื่องจากประเทศไทยอยู่ในบริเวณ เขตศูนย์สูตร อิทธิพลของลมประจำปีจึงไม่มีประโยชน์ในการนำมาใช้ ซึงคุณเกียรติชัยถึงกับบ่นเสียดายมาก
          ลมประจำฤดู :เป็นลมที่พัดเปลี่ยนทิศทางตามฤดูกาล เรียกว่า ลมมรสุม เมื่อพูดถึงลมในบทความนี้จะพูดถึงเฉพาะลมพื้นผิวที่ผ่านประเทศไทยเท่านั้น ลมมรสุมที่มีความสำคัญมากก็คือ 1. ลมมรสุมฤดูร้อน พัดในแนวทิศใต้ และตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2. ลมมรสุมฤดูหนาว พัดในแนวทิศเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์
          ลมประจำเวลา :เป็นลมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศระหว่าง 2 บริเวณในระยะเวลาสั้นๆ ได้แก่ ลมบก ลมทะเล ลมภูเขา และลมหุบเขา บริเวณที่อยู่ตามชายฝั่งอิทธิพลของลมบก ลมทะเลมีสูงมาก ยังจำกันได้ไหมว่าลมบกพัดจากบกสู่ทะเลในตอนกลางคืน ส่วนลมทะเลพัดจากทะเลเข้าหาฝั่งในตอนกลางวัน ไปเที่ยวภูเก็ตกันดีไหมคะ

เทคโนโลยีกังหันลม
          พลังงานลม เป็นพลังงานจากธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้ โดยอาศัยเครื่องมือที่เรียกว่า “ กังหันลม ” เป็นตัวสกัดกั้นพลังงานจลน์ของกระแสลม แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานกล จากนั้นจึงนำพลังงานกลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ เช่น สูบน้ำ หรือใช้ผลิตไฟฟ้า เป็นต้น กังหันลมที่ใช้กันมากในประเทศไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ได้แก่ กังหันลมแบบใบกังหันไม้ ใช้สำหรับวิดน้ำเข้านาข้าวบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา กังหันใบเสื่อลำแพนใช้วิดน้ำเค็มเข้านาเกลือบริเวณจังหวัดสมุทรสงคราม และกังหันลมแบบใบกังหันหลายใบทำด้วยแผ่นเหล็กใช้สำหรับสูบน้ำลึก เช่น น้ำบาดาล น้ำบ่อ ขึ้นไปเก็บในถังกักเก็บ

ชนิดของกังหันลม
          การจำแนกชนิดของกังหันลมที่เป็นที่นิยม มี 2 วิธีคือ

           กังหันลมแนวแกนนอน (Horizontal Axis Wind Turbine)เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนขนานกับทิศทางของลมโดยมีใบพัดเป็นตัวตั้ง ฉากรับแรง ลม มีอุปกรณ์ควบคุมกังหันให้หันไปตามทิศทางของกระแสลม เรียกว่า หางเสือ และมีอุปกรณ์ป้องกันกังหันชำรุดเสียหายขณะเกิดลมพัดแรง เช่น ลมพายุและตั้งอยู่บนเสาที่แข็งแรง กังหันลมแบบแกนนอน ได้แก่ กังหันลมวินด์มิลล์ ( Windmills) กังหันลมใบเสื่อลำแพน นิยมใช้กับเครื่องฉุดน้ำ กังหันลมแบบกงล้อจักรยาน กังหันลมสำหรับผลิตไฟฟ้าแบบพรอบเพลเลอร์ (Propeller)

          กังหันลมแนวแกนตั้ง (Vertical Axis Wind Turbine)เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนและใบพัดตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของลมใน แนวราบ ซึ่งทำให้สามารถรับลมในแนวราบได้ทุกทิศทาง
          กังหันลมแบบแนวแกนนอนเป็นแบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนมากออกแบบให้เป็นชนิดที่ขับใบกังหันด้วยแรงยก แต่อย่างไรก็ตาม กังหันลมแบบแนวแกนตั้ง ซึ่งได้รับการพัฒนามากในระยะหลังก็ได้รับความสนใจมากขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากข้อดีกว่าแบบแนวแกนนอนคือ ในแบบแนวแกนตั้งนั้นไม่ว่าลมจะเข้ามาทิศไหนก็ยังหมุนได้ โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์ควบคุมให้กังหันหันหน้าเข้าหาลม นอกจากนี้แล้วแบบแนวแกนตั้งนั้น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าและระบบการส่งกำลังวางไว้ใกล้พื้นดินมากกว่าแบบแกนนอน เวลาเกิดปัญหาแก้ไขง่ายกว่าแบบแกนนอนที่ติดอยู่บนหอคอยสูง

กังหันลมกับการผลิตไฟฟ้า
           หลักการทำงานของกังหันลมผลิตไฟฟ้านั้น เมื่อมีลมพัดผ่านใบกังหัน พลังงานจลน์ที่เกิดจากลมจะ ทำให้ใบพัดของกังหันเกิดการหมุน และได้เป็นพลังงานกลออกมา พลังงานกลจากแกนหมุนของกังหันลมจะถูกเปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เชื่อมต่ออยู่กับแกนหมุนของกังหันลม จ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านระบบควบคุมไฟฟ้า และจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบต่อไป โดยปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของลม ความยาวของใบพัด และสถานที่ติดตั้งกังหันลม
กังหันลมกับการใช้งาน
          เนื่องจากความไม่สม่ำเสมอของความเร็วลมที่แปรผันตามธรรมชาติ และความต้องการพลังงานที่สม่ำเสมอเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานแล้ว จะต้องมีตัวกักเก็บพลังงานและใช้แหล่งพลังงานอื่นที่เชื่อถือได้เป็นแหล่ง สำรอง หรือใช้ร่วมกับแหล่งพลังงานอื่น
          ก . ตัวกักเก็บพลังงานมีอยู่หลายชนิด ส่วนมากขึ้นอยู่กับงานที่จะใช้ เช่น ถ้าเป็นกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมักนิยมใช้แบตเตอรี่เป็นตัวกักเก็บ
          ข . การใช้แหล่งพลังงานอื่นที่เป็นตัวหมุน ระบบนี้ปกติกังหันลมจะทำหน้าที่จ่าย พลังงานให้ตลอดเวลาที่มีความเร็วลมเพียงพอ หากความเร็วลมต่ำหรือลมสงบ แหล่ง พลังงานชนิดอื่นจะทำหน้าที่จ่ายพลังงานทดแทน (ระบบนี้กังหันลมจ่ายพลังงานเป็นตัวหลักและแหล่ง พลังงานส่วนอื่นเป็นแหล่งสำรอง )
           ค . การใช้ร่วมกับแหล่งพลังงานอื่น อาจเป็นเครื่องจักรดีเซล หรือพลังงานน้ำจากเขื่อน ฯลฯ ระบบนี้ปกติมีแหล่งพลังงานชนิดอื่นจ่ายพลังงานอยู่ก่อนแล้ว กังหันลมจะช่วยจ่ายพลังงานเมื่อมีความเร็วลมเพียงพอ ซึ่งในขณะเดียวกันก็ลดการจ่ายพลังงานจากแหล่งพลังงานอื่น เช่น ลดการใช้น้ำมันดีเซลของเครื่องยนต์ดีเซล (ระบบนี้ แหล่งพลังงานอื่นจ่ายพลังงานเป็น หลัก ส่วนกังหันลมทำหน้าที่คอยเสริมพลังงานจากต้นพลังงานหลัก)

(ข้อมูลบางส่วนจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย : http://www2.egat.co.th )

พลังงานลม


พลังงานลม

ลมเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดดันของบรรยากาศและแรงจากการหมุนของโลก
สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเร็วลมและกำลังลม เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าลมเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่มีอยู่ในตัวเอง
ซึ่งในบางครั้งแรงที่เกิดจากลมอาจทำให้บ้านเรือนที่อยู่อาศัยพังทลายต้นไม้ หักโค่นลง สิ่งของวัตถุต่างๆ ล้มหรือปลิวลอยไปตามลม ฯลฯ
ในปัจจุบันมนุษย์จึงได้ให้ความสำคัญและนำพลังงานจากลมมาใช้ประโยชน์มากขึ้น เนื่องจากพลังงานลมมีอยู่โดยทั่วไป ไม่ต้องซื้อหา
เป็นพลังงานที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อม และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่รู้จักหมดสิ้น
เทคโนโลยีกังหันลม
 
กังหันลม คือ เครื่องจักรกลอย่างหนึ่งที่สามารถรับพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมให้ เป็นพลังงานกลได้ จากนั้นนำพลังงานกลมาใช้ประโยชน์โดยตรง  เช่น
การบดสีเมล็ดพืช การสูบน้ำ หรือในปัจจุบันใช้ผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า การพัฒนากังหันลมเพื่อใช้ประโยชน์มีมาตั้งแต่ชนชาวอียิปต์โบราณและมีความต่อ
เนื่องถึงปัจจุบัน โดยการออกแบบกังหันลมจะต้องอาศัยความรู้ทางด้านพลศาสตร์ของลมและหลัก วิศวกรรมศาสตร์ในแขนงต่างๆ เพื่อให้ได้กำลังงาน พลังงาน
และประสิทธิภาพสูงสุด
รูปแบบเทคโนโลยีกังหันลม
กังหันลมสามารถแบ่งออกตาม ลักษณะการจัดวางแกนของใบพัดได้ 2 รูปแบบ คือ        
1.  กังหันลมแนวแกนตั้ง (Vertical Axis Turbine (VAWT)) เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนและใบพัดตั้งฉากกับการเคลื่นที่ของลมในแนว ราบ        
2.  กังหันลมแนวแกนนอน (Horizontal Axis Turbine (HAWT)) เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนขนานกับการเคลื่อนที่ของลมในแนวราบ
โดยมีใบพัดเป็นตัวตั้งฉากรับแรงลม
ส่วนประกอบของ เทคโนโลยีกังหันลม
1. กังหันลมเพื่อสูบน้ำ (Wind Turbine for Pumping) เป็นกังหันลมที่รับพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมและเปลี่ยนให้เป็น พลังงานกล
เพื่อใช้ในการชักหรือสูบน้ำจากที่ต่ำขึ้นที่สูงเพื่อใช้ในการเกษตร การทำนาเกลือ การอุปโภคและการบริโภค
ปัจจุบันมีใช้อยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ  แบบระหัด และ  แบบสูบชัก
2. กังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้า (Wind Turbine for Electric) เป็นกังหันลมที่รับพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมและเปลี่ยนให้เป็น พลังงานกล
จากนั้นนำพลังงานกลมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า ปัจจุบันมีการนำมาใช้งานทั้ง กังหันลมขนาดเล็ก (Small Wind Turbine) และ กังหันลมขนาดใหญ่ (Large Wind Turbine)

ที่มา; http://www.dede.go.th/dede/index.php?option=com_content&view=article&id=97&Itemid=58&lang=th

พลังงานลมในประเทศไทย


พลังงานลมในประเทศไทย

ลมเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้กันมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว สำหรับประเทศไทย พลังงานลมก็ถือว่าเป็นพลังงานที่ใช้กันมาช้านาน ส่วนมากจะใช้ในการวิดน้ำเข้าสู่พื้นที่เกษตรกรรม เช่น นาข้าว และ นาเกลือ เป็นต้น
ซูม
ในวันที่ 15-18 ก.พ. 2550 กลุ่มเยาวชนยุคพลังงานสะอาดของกรีนพีซ ณ โรงเรียนปะทิววิทยา จ.ชุมพร ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษา จ.ชุมพร จัดสัมนาเรื่อง "ประสิทธิภาพพลังงานหมุนเวียนใช้ได้จริงหรือไม่" และ จัดอบรมเชิงปฏิบัติเรื่องการทำกังหันลมผลิตไฟฟ้าความเร็วต่ำอย่างง่าย ที่จังหวัดชุมพร
อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขทางกายภาพของการผลิตพลังงานลม ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้คือ 1) ต้องมีความเร็วลมสูง (ประมาณ 8 เมตรต่อวินาที) 2) กระแสลมไม่แปรปรวน 3) มีกระแสลมต่อเนื่อง เนื่องจากอัตราความเร็วลมปกติในประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 1.7-3.1 เมตรต่อวินาที และมีอัตราความเร็วลมสูงสุดที่ 2.5-4.2 เมตรต่อวินาที ซึ่งต่ำเกินกว่าที่จะนำมาผลิตพลังงาน ดังนั้นจึงมีพื้นที่ใกล้ทะเลบางแห่งเท่านั้นที่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นฐานการผลิตไฟฟ้าจากกระแสลม

พลังงานลมเกือบทั้งหมดในประเทศไทยนำไปใช้กับเครื่องสูบน้ำ ในขณะที่การใช้พลังงานลมในการผลิตไฟฟ้าเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบสายส่งยังอยู่ในขั้นการทดสอบ ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมเท่ากับ 0.2 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 9 บาท) ต่อกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง หรือเท่ากับสามเท่าของการผลิตไฟฟ้าจากน้ำมันดีเซล การผลิตกระแสไฟฟ้าจากลมจึงยังมีความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจน้อย

อุปสรรคที่สำคัญของการพัฒนาพลังงานลมก็คือ การที่ลมมีความเร็วต่ำ และไม่ต่อเนื่อง อีกทั้งยังขาดการสนับสนุนทางด้านการลงทุนและพัฒนาศักยภาพของเทคโนโลยีในประเทศ ทำให้มีต้นทุนสูงและมีราคาแพง นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องกระแสลมที่ไม่สัมพันธ์กับความต้องการในการใช้ กล่าวคือ ในช่วงฤดูฝนมีลมกระโชกแรง แต่ความต้องการใช้น้ำจากชลประทานมีไม่มาก แต่เมื่อถึงฤดูแล้งที่มีความต้องการน้ำชลประทานมาก แต่กลับไม่มีลม ด้วยเหตุนี้พลังงานลมจึงยังไม่มีศักยภาพพอที่จะนำมาใช้ในประเทศไทยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ที่่มา; http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/climate-and-energy/solutions/wind/thailand/

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

VDO พลังงานไฟฟ้า

ที่มา; http://www.youtube.com/watch?v=7vajPzJriAI

พลังงาน

พลังงานเป็นสิ่งจำเป็นของมนุษย์ในโลกปัจจุบันและทวีความสำคัญขึ้นเมื่อโลกยิ่งพัฒนามากยิ่งขึ้น แหล่งพลังงานค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นแหล่งพลังงานที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีในการผลิตมากยิ่งขึ้น จากน้ำมันปิโตรเลียมไปเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานหลายประเภทด้วยกัน แต่อาจจะมีในปริมาณค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ บางครั้งวิกฤตการณ์ของโลกอาจจะทำให้ประเทศไทยได้รับอิทธิพลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้เพราะประเทศไทยยังต้องมีการสั่งน้ำมันเข้าเป็นจำนวนมาก 1. น้ำมันปิโตรเลียม ประเทศไทยมีน้ำมันปิโตรเลียมในแหล่งต่าง ๆ ที่พิสูจน์แล้วไม่น้อยกว่า 174 ล้านบาร์เรล ได้แก่ น้ำมันจากอ่าวไทย (เช่น แหล่งเอราวัณ แหล่งสตูล) อำเภอฝาง และแหล่งสิริกิติ์ จังหวัดกำแพงเพชร และคาดว่าจะต้องค้นพบอีกหลาย ๆ แห่ง เช่น บริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี สุราษฎ์ธานี ซึ่งคาดว่าจะพบอีกไม่น้อยว่า 100 ล้านบาร์เรล เนื่องจากสภาพทางธรณีวิทยามีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นแอ่งสะสมน้ำมันปิโตรเลียม ในปัจจุบันประเทศไทยยังต้องสั่งเข้าน้ำมันปิโตรเลียมเป็นอัตราส่วนสูง เนื่องจากการผลิตในประเทศไทยยังต่ำกว่าปริมาณการใช้มาก การขุดเจาะและผลิตน้ำมันปิโตรเลียม จะก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมได้เช่นเดียวกับโครงการอื่น ๆ ผลที่จะเกิดขึ้นอาจจะมาจากวัสดุที่ใช้หล่อลื่นในการขุด (Drilling fluid) การระบายน้ำเค็ม ที่มีความเค็มสูงมากจากหลุมเจาะ และมีสารบางประเภทที่เป็นพิษปะปนออกมาด้วย เช่น ปรอท แคดเมียม โครเมียม เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วการจัดการกับบ่อภายหลังสิ้นสุดการนำน้ำมันปิโตรเลียมมาใช้ประโยชน์ก็มีความสำคัญต่อสภาพความมั่นคงของพื้นที่ที่อยู่โดยรอบบ่อน้ำมัน 2. ก๊าซธรรมชาติ นับเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของประเทศไทยในปัจจุบันปริมาณของก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยที่พิสูจน์แล้วทั้งหมดมากกว่า 100 พันล้านลูกบาศก์เมตร และโอกาสที่จะพบเพิ่มเติมมีโอกาสสูงมากโดยเฉพาะในบริเวณอ่าวไทยซึ่งการผลิตก๊าซธรรมชาตินั้น สามารถนำมาผลิตเป็นมีเธน อีเทน และแอลพีจี ซึ่งใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับไฟฟ้าเชื้อเพลิงสำหรับหุงต้มและยานพาหนะ ก๊าซธรรมชาติเมื่อผ่านเข้ากระบวนการผลิตจะแยกได้ผลพลอยได้อย่างหนึ่งปนมากับก๊าซที่อยู่ในรูปของละอองน้ำมัน เรียกว่า ก๊าซธรรมชาติเหลว (Condensate) ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนเบนซินธรรมชาติ สามารถนำไปผสมกับน้ำมันดิบ เพื่อกลั่นเป็นน้ำมันเบนซินได้ นอกจากนั้นแล้วในแหล่งต่าง ๆ ในอ่าวไทย ยังมีก๊าซธรรมชาติเหลวปะปนอยู่ในแอ่งก๊าซธรรมชาติด้วย ดังนั้นก๊าซธรรมชาติจึงนับว่าเป็นแหล่งพลังงานของประเทศไทยที่มีความสำคัญ ส่วนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับการดำเนินการเพื่อขุดเจาะและผลิตน้ำมันปิโตรเลียม 3. ถ่านหินลิกไนต์ ประเทศไทยมีแหล่งถ่านหินลิกไนต์รวมทั้งหมด 72 แหล่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่ที่มีการนำมาใช้ในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่อยู่ภาคเหนือและภาคใต้ แอ่งที่จัดว่ามีปริมาณถ่านหินลิกไนต์มากได้แก่ แอ่งแม่เมาะ แอ่งกระบี่ ซึ่งได้มีการนำมาผลิตกระแสไฟฟ้า นับเป็นเวลานานแล้ว ส่วนแหล่งอื่น ๆ ที่สำรวจแล้วแต่ยังไม่มีการดำเนินการเพื่อนำถ่านหินมาใช้ ได้แก่ แอ่งสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา แอ่งสินปุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่นับว่าเป็นแหล่งที่มีถ่านหินลิกไนต์สะสมเป็นจำนวนมหาศาล การใช้ประโยชน์ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะผลิตกระแสไฟฟ้า ยกเว้นเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ ที่มีเอกชนเข้ามาเปิดดำเนินการ เพื่อนำถ่านหินลิกไนต์ไปใช้ประโยชน์ให้ความร้อนในทางอุตสาหกรรม หากประเทศไทยมีการใช้ถ่านหินปีละประมาณ 50 ล้านตัน เมื่อเทียบอัตราการใช้ในปัจจุบันแล้ว อายุการใช้ถ่านหินของประเทศไทยจะใช้งานได้ประมาณ 25 ปี นับว่าเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งของประเทศ การนำแร่ถ่านหินลิกไนต์มาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อมได้ ในอากาศจะมีปริมาณของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่สลายออกจากถ่านหินเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านฝนกรดได้ ส่วนการทำเหมืองจะก่อให้เกิดมลภาวะทางน้ำ โดยเฉพาะน้ำบาดาล ซึ่งจะเป็นปัญหาที่จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน 4. พลังน้ำ การผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยอาศัยพลังน้ำ โดยการสร้างเขื่อนนั้น เป็นวิธีการซึ่งให้ได้มาซึ่งพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการสร้างเขื่อนอเนกประสงค์ โดยหลักแล้วเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า เขื่อนแรกได้แก่ เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และต่อมาเขื่อนก็ถูกสร้างขึ้นมาเรื่อย ๆ เช่น เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุดรดิตถ์ เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น พลังน้ำจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าในราคาต้นทุนต่ำ แต่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ควรคำนึงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการสูญเสียเนื้อที่ป่าเป็นจำนวนมหาศาล เพื่อใช้เป็นอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ราษฎรในพื้นที่น้ำท่วมจึงจะต้องอพยพย้ายที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ สัตว์ป่าต่าง ๆ จะสูญเสียที่อยู่อาศัยหรืออาจจะสูญพันธุ์ไปโดยไม่สามารถป้องกันได้ เพราะการอพยพสัตว์ป่าออกจากพื้นที่น้ำท่วมนั้น ไม่สามารถจะโยกย้ายสัตว์ได้ทันทุกชนิด นอกจากนั้นแล้ว แร่ธาตุต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่อาจจะถูกทิ้งให้จมอยู่ใต้น้ำ โดยไม่มีโอกาสนำขึ้นมาใช้ประโยชน์ของประเทศ ทรัพยากรต่าง ๆ เหล่านั้น ไม่สามารถจะประเมินออกมาเป็นตัวเลขได้ซึ่งถ้าหากกระทำได้แล้วอาจจะทำให้ต้นทุนของการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงโดยพลังน้ำ จะมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงกว่าการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยวิธีอื่น ๆ 5. ไม้และถ่าน แหล่งพลังงานของประเทศด้อยพัฒนาส่วนใหญ่ได้จากชีวมวล อันได้แก่ ไม้ฟืนและถ่าน แต่การใช้ป่าไม้เพื่อผลิตพลังงานนั้น จะก่อให้เกิดการทำลายป่าไม้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกที่ได้มีการหวั่นวิตกอยู่ในปัจจุบัน การนำไม้มาใช้เพื่อเป็นแหล่งความร้อนและพลังงานทำให้ป่าปกคลุมโลกประมาณร้อยละ 20 ลดลงอย่างน่าเป็นห่วง ดังนั้น จึงเป็นการก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมมากมาย และจะต้องใช้พื้นที่อย่างกว้างขวางเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มกับหน่วยความร้อนที่จะได้ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบต่อหน่วยพื้นที่ นอกจากนั้นแล้วจะต้องมีการปลูกพืชขึ้นมาทดแทนอยู่ตลอดเวลา จึงถือว่าไม้และถ่านเป็นแหล่งพลังงานที่ไม่น่าจะพัฒนาให้มีการใช้ในโลกปัจจุบัน 6. พลังงานรังสีอาทิตย์ ประเทศไทยเป็นประเทศที่จะได้รับรังสีอาทิตย์เฉลี่ยประมาณวันละ 17 เมกะจูลต่อตารางเมตร ซึ่งประเทศไทยได้ใช้ประโยชน์จากรังสีอาทิตย์มานานตั้งแต่ในอดีต เช่น การผลิตเกลือจากน้ำทะเล การตากผลิตผลทางเกษตร เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง แต่ยังมิได้ประเมินปริมาณรังสีอาทิตย์ที่ประเทศได้ใช้ในแต่ละปี ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อนำรังสีอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น และสามารถจะเก็บสะสมไว้ในรูปของเซลความร้อนที่จะสามารถเรียกใช้ได้ตามเวลาที่ต้องการ นอกจากพลังงานจากรังสีอาทิตย์แล้ว ที่เป็นแหล่งพลังงานจากระบบสุริยจักรวาลอีกอย่างได้แก่ พลังงานลมและพลังงานกระแสน้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งในขณะนี้ในประเทศไทยได้เริ่มทำการศึกษาวิจัย โดยเฉพาะพลังงานลมได้มีสถานีสาธิตและประเมินความเหมาะสมที่จังหวัดภูเก็ต 7. พลังงานนิวเคลียร์ ประเทศอุตสาหกรรมใช้ไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการใช้พื้นที่น้อยให้ปริมาณความร้อนสูง และเป็นการผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง โดยจะไม่ได้รับอิทธิพลจากองค์ประกอบนอกระบบ เนื่องจากระบบการผลิตเป็นการควบคุมการทำงานโดยอัตโนมัติแม้แต่ประเทศต่าง ๆ ในเอเซียด้วยกันยังมีโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ เช่น ไต้หวัน มาเลเซีย ปัจจุบันกำลังไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์รวมกันประมาณร้อยละ 20 ของกำลังผลิตของโลก ประเทศไทยได้เคยทำการศึกษาความเหมาะสมเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่อ่าวไผ่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี แต่ปัจจุบันยังไม่มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แต่อย่างใด เนื่องจากมีความไม่มั่นใจในมาตรการป้องกันผลเสียหายที่จะเกิดจากโรงไฟฟ้า การใช้พลังงานนิวเคลียร์อาจจะมีปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ควรได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ เช่น การกำจัดกากเชื้อเพลิง ซึ่งจะต้องมีสถานที่ที่เหมาะสม อาจจะเป็นในทะเลลึกโดยฝังในชั้นหินที่ไม่ซึมน้ำ หรือการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้า แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถที่จะป้องกันแก้ไขได้โดยการวางแผนและการเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม ประเทศไทยจึงควรพิจารณาการใช้พลังงานนิวเคลียร์ไว้เป็นทางเลือกสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าในอนาคตแทนการสร้างเขื่อนซึ่งอาจจะมีปัญหาการใช้พื้นที่ หรือการใช้ถ่านหินที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบมลพิษด้านอากาศ 8. หินน้ำมัน หินน้ำมันในประเทศไทยจากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณี พบว่า มีการสะสมตัวเป็นจำนวนมากในบริเวณจังหวัดตาก ซึ่งประเมินปริมาณสำรองเบื้องต้นประมาณ 21,000 ล้านตัน โดยจะมีน้ำมันดิบปะปนอยู่ประมาณ 6,700 ล้านบาร์เรล ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศแล้ว ปริมาณน้ำมันที่สะสมอยู่ในชั้นหินของประเทศไทยค่อนข้างต่ำ โดยเฉลี่ยแล้วร้อยละ 28 อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีของการแยกน้ำมันออกจากหินน้ำมันยังไม่ก้าวหน้าเพียงพอทำให้อัตราการคืนตัวต่ำ ในขณะเดียวกับราคาต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง ทำให้ศักยภาพของการนำหินน้ำมันมาใช้เป็นแหล่งพลังงานในอนาคตค่อนข้างต่ำ และไม่คุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตน้ำมันปิโตรเลียมปัจจุบัน ที่มา : รวบรวมจากหนังสือความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม   กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

พลังงานทดแทน

พลังงานทดแทน
        พลังงานทดแทนอีกประเภทหนึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะศักยภาพ และสถานภาพการใช้ประโยชน์ของพลังงานทดแทน การศึกษาและพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นการศึกษา ค้นคว้า ทดสอบ พัฒนา และสาธิต ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น พลังงานลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล และอื่นๆ เพื่อให้มีการผลิต และการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย มีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมทั้งทางด้านเทคนิค เศรษฐกิจ และสังคม
        สำหรับผู้ใช้ในเมือง และชนบท ซึ่งในการศึกษา ค้นคว้า และพัฒนาพลังงานทดแทนดังกล่าว ยังรวมถึงการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์เพื่อการใช้งานมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วย งานศึกษา และพัฒนาพลังงานทดแทน เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งมีโครงการที่เกี่ยวข้องโดยตรงภายใต้แผนงานนี้คือ โครงการศึกษาวิจัยด้านพลังงาน และมีความเชื่อมโยงกับแผนงานพัฒนาชนบทในโครงการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับหมู่บ้านชนบทที่ไม่มีไฟฟ้า โดยงานศึกษา และพัฒนาพลังงานทดแทนจะเป็นงานประจำที่มีลักษณะการดำเนินงานของกิจกรรมต่างๆ ในเชิงกว้างเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทน ทั้งในด้านวิชาการเชิงทฤษฎี และอุปกรณ์เครื่องมือทดลอง และการทดสอบ รวมถึงการส่งเสริมและเผยแพร่ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุน และรองรับความพร้อมในการจัดตั้งโครงการใหม่ๆ ในโครงการศึกษาวิจัยด้านพลังงานและโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การศึกษาค้นคว้าเบื้องต้น การติดตามความก้าวหน้าและร่วมมือประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาต้นแบบ ทดสอบ วิเคราะห์ และประเมินความเหมาะสมเบื้องต้น และเป็นงานส่งเสริมการพัฒนาโครงการที่กำลังดำเนินการให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตลอดจนสนับสนุนให้โครงการที่เสร็จสิ้นแล้วได้นำผลไปดำเนินการส่งเสริม และเผยแพร่และการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมต่อไป
ประเภทของพลังงานทดแทน
        ในปัจจุบันเรื่องพลังงานเป็นปัญหาใหญ่ของโลก และนับวันจะมีผลกระทบรุนแรงต่อมวลมนุษยชาติมากขึ้นทุกที การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ให้ความสำคัญในการร่วมหาหนทางแก้ไข ทำการศึกษา ค้นคว้า สำรวจ ทดลอง ติดตามเทคโนโลยีอย่างจริงจังและต่อเนื่องมาโดยตลอด เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการนำพลังงานทดแทนและเทคโนโลยีใหม่ๆในด้านพลังงานทดแทนเข้ามาใช้ในประเทศไทยต่อไป โดยคำนึงถึงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมซึ่งพอจะจำแนกประเภทของพลังงานทดแทนได้ดังนี้
พลังงานแสงอาทิตย์
        ดวงอาทิตย์ให้พลังงานจำนวนมหาศาลแก่โลกของเรา พลังงานจากดวงอาทิตย์จัดเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญที่สุด เป็นพลังงานสะอาดไม่ทำปฎิกิริยาใดๆอันจะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เซลล์แสงอาทิตย์จึงเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็คทรอนิคส์ชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า เนื่องจากสามารถเปลี่ยนเซลล์แสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง ส่วนใหญ่เซลล์แสงอาทิตย์ทำมาจากสารกึ่งตัวนำพวกซิลิคอน มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้สูงถึง 22 เปอร์เซนต์
        ในส่วนของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ในเกณฑ์สูง พลังงานโดยเฉลี่ยซึ่งรับได้ทั่วประเทศประมาณ 4 ถึง 4.5 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อวัน ประกอบด้วยพลังงานจากรังสีตรง (Direct Radiation) ประมาณ 50 เปอร์เซนต์ ส่วนที่เหลือเป็นพลังงานรังสีกระจาย (Diffused Radiation) ซึ่งเกิดจากละอองน้ำในบรรยากาศ(เมฆ) ซึ่งมีปริมาณสูงกว่าบริเวณที่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรออกไปทั้งแนวเหนือ - ใต้
[แก้ไข] พลังงานลม
        เป็นพลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ 2 ที่ ซึ่งสะอาดและบริสุทธิ์ใช้แล้วไม่มีวันหมดสิ้นไปจากโลก ได้รับความสนใจนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกัน กังหันลมก็เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่สามารถนำพลังงานลมมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ โดยเฉพาะในการผลิตกระแสไฟฟ้า และในการสูบน้ำ ซึ่งได้ใช้งานกันมาแล้วอย่างแพร่หลายพลังงานลมเกิดจากพลังงานจากดวงอาทิตย์ตกกระทบโลกทำให้อากาศร้อน และลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากบริเวณอื่นซึ่งเย็นและหนาแน่นมากกว่าจึงเข้ามาแทนที่ การเคลื่อนที่ของอากาศเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดลม และมีอิทธิพลต่อสภาพลมฟ้าอากาศในบางพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวฝั่งทะเลอันดามันและด้านทะเลจีน(อ่าวไทย) มีพลังงานลมที่อาจนำมาใช้ประโยชน์ในลักษณะพลังงานกล (กังหันสูบน้ำกังหันผลิตไฟฟ้า) ศักยภาพของพลังงานลมที่สามารถ นำมาใช้ประโยชน์ได้สำหรับประเทศไทย มีความเร็ว อยู่ระหว่าง 3 - 5 เมตรต่อวินาที และความเข้มพลังงานลมที่ประเมินไว้ได้อยู่ระหว่าง 20 - 50 วัตต์ต่อตารางเมตร
พลังงานความร้อนใต้พิภพ
        น้ำร้อนที่ถูกนำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้าแล้วนั้น แม้อุณหภูมิจะลดลงบ้าง แต่ก็ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการอบแห้ง และใช้ในห้องเย็นสำหรับเก็บรักษาพืชผลทางการเกษตรได้ นอกจากนั้น น้ำที่เหลือใช้แล้วยังสามารถนำไปใช้ในกิจการเพื่อกายภาพบำบัด และการท่องเที่ยวได้อีก ท้ายที่สุดคือ น้ำทั้งหมดซึ่งยังมีสภาพเป็นน้ำอุ่นอยู่เล็กน้อย จะถูกปล่อยลงไปผสมกับน้ำตามธรรมชาติในลำน้ำ ซึ่งนับเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำให้กับเกษตรกรในฤดูแล้งได้อีกทางหนึ่งด้วย
พลังงานชีวมวล
        เชื้อเพลิงที่มาจากชีวะ หรือสิ่งมีชีวิตเช่น ไม้ฟืน แกลบ กากอ้อย เศษไม้ เศษหญ้า เศษเหลือทิ้งจากการเกษตร เหล่านี้ใช้เผาให้ความร้อนได้ และความร้อนนี้แหละที่เอาไปปั่นไฟ นอกจากนี้ยังรวมถึงมูลสัตว์และของเสียจากโรงงานแปรรูปทางการเกษตร เช่น เปลือกสับปะรดจากโรงงานสับปะรดกระป๋อง หรือน้ำเสียจากโรงงานแป้งมัน ที่เอามาหมักและผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ โดยเหตุที่ประเทศไทยทำการเกษตรอย่างกว้างขวาง วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ชานอ้อย กากมะพร้าว ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก (เทียบได้น้ำมันดิบปีละไม่น้อยกว่า 6,500 ล้านลิตร) ก็ควรจะใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ได้
        ในกรณีของโรงเลื่อย โรงสี โรงน้ำตาลขนาดใหญ่ อาจจะยินยอมให้จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าต่างๆในประเทศ ในลักษณะของการผลิตร่วม (Co-generation) ซึ่งมีใช้อยู่แล้วหลายแห่งในต่างประเทศโดยวิธีดังกล่าวแล้วจะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานในประเทศสำหรับส่วนรวมได้มากยิ่งขึ้นทั้งนี้อาจจะรวมถึงการใช้ไม้ฟืนจากโครงการปลูกไม้โตเร็วในพื้นที่นับล้านไร่ ในกรณีที่รัฐบาลจำเป็นต้องลดปริมาณการปลูกมันสำปะหลัง อ้อย เพื่อแก้ปัญหาระยะยาวทางด้านการตลาดของพืชทั้งสองชนิด อนึ่ง สำหรับผลิตผลจากชีวมวลในลักษณะอื่นที่ยังใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ เช่น แอลกอฮอล์ จากมันสำปะหลัง ก๊าซจากฟืน(Gasifier) ก๊าซจากการหมักเศษวัสดุเหลือจากการเกษตร(Bio Gas) ขยะ ฯ หากมีความคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ก็อาจนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าได้เช่นกัน
พลังงานน้ำ
        พื้นผิวโลกถึง 70 เปอร์เซนต์ ปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย น้ำเหล่านี้มีการเปลี่ยนสถานะและหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ระหว่างผิวโลกและบรรยากาศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรียกว่า วัฏจักรของน้ำ น้ำที่กำลังเคลื่อนที่มีพลังงานสะสมอยู่มาก และมนุษย์รู้จักนำพลังงานนี้มาใช้หลายร้อยปีแล้ว เช่น ใช้หมุนกังหันน้ำ ปัจจุบันมีการนำพลังงานน้ำไปหมุนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้า
พลังงานจากขยะ
        พลังงานจากขยะจากบ้านเรือนและกิจการต่างๆ เป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสูง ขยะเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นมวลชีวภาพ เช่น กระดาษ เศษอาหาร และไม้ ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าที่ถูกออกแบบให้ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงได้ ที่เมืองบัลโม ประเทศสวีเดน ไฟฟ้าที่ใช้ประมาณ 20 เปอร์เซนต์ มาจากการเผาขยะ โรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิง จะนำขยะมาเผาบนตะแกรง ความร้อนที่เกิดขึ้นใช้ต้มน้ำในหม้อน้ำจนกลายเป็นไอน้ำเดือด ซึ่งจะไปหมุนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เหมือนกับโรงไฟฟ้าอื่นๆ)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%99

สถานกาณ์พลังงานของประเทศไทย



ที่มา; http://www.youtube.com/watch?v=r-8rPIGQoRg

พลังงานของไทย ปี 2550

             บทความนี้ได้นำเสนอปริมาณ การใช้พลังงานของประเทศไทยประจำปี 2550 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การใช้พลังงานหมุนเวียนและการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์
พลังงานหมุนเวียนเป็นพลังงานที่ใช้หมดแล้วและสามารถผลิตขึ้นมาได้อีกโดยแบ่ง ออกเป็น 15 ประเภทด้วยกันคือ แกลบ เศษไม้ ขี้เลื้อย ปาล์ม ชานอ้อย ถ่านไม้ ฟืน
ซังข้าวโพด เปลือกถั่ว ไบโอดีเซล B-100 วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มันสำปะหลัง มะพร้าว ก๊าซชีวภาพ และขยะ
ส่วนพลังงานเชิงพาณิชย์เป็นแหล่งพลังงานที่มีขนาดใหญ่เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน นอกจากนี้ยังรวมถึงพลังงานที่ผ่านการแปรรูปได้แก่ ไฟฟ้า
และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ปริมาณการใช้พลังงานของประเทศไทยประจำปี 2550 แสดงดังรูปที่ตามมา

           พบว่า มีการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์มากสุดซึ่งเท่ากับ 25,402 ktoe คิดเป็น 68.90% ของการใช้พลังงานในประเทศ และมีการใช้พลังงานหมุนเวียนเท่ากับ 11,466
ktoe คิดเป็น 31.10% ของการใช้พลังงานในประเทศ สาเหตุที่มีการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์มากกว่าพลังงานหมุนเวียนอาจเนื่องมาจาก
เป็นพลังงานหลักที่ใช้ในภาคเศรษฐกิจ อย่างเช่น ภาคที่อยู่อาศัย ภาคการขนส่ง ภาคเกษตรกรรม ภาคธุรกิจการค้าและบริการ ภาคอุตสาหกรรม และภาคอื่นๆ
(เหมืองแร่และการก่อสร้าง)

ที่มา; http://www.region2.energy.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=49&Itemid=18